อาการโคม่า ของ โควิด 19 มีกี่ระยะ เข้า ICU รักษาอย่างไร

อาการโคม่า ของ โควิด 19 มีกี่ระยะ เข้า ICU รักษาอย่างไร

ระยะ 1 ให้ยาต้านไวรัสเพื่อลด จำนวนไวรัสให้เร็วที่สุด

ระยะที่ 2 ผู้ป่วยจะเริ่มเกิดการอักเสบของร่างกาย เนื่องจากการทำงานมากผิดปกติของภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำให้อวัยวะต่างๆโดยเฉพาะปอดทำงานผิดปกติ การรักษาในระยะนี้ต้องให้ยาเพื่อไประงับภูมิคุ้มกันที่ทำงานมากเกินไป เช่น ยาสเตียรอยด์

ระยะที่ 3 คือผู้ป่วยอาการหนักจนถึงขั้นเข้าห้อง ICU จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ การรักษาด้วยยาต้านไวรัส หรือต้านการอักเสบ #อาจไม่ได้ผล การรักษาหลักในช่วงนี้คือ การประคับประคอง

1. โดยครื่องช่วยหายใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้ออกซิเจนมากพอและมีเวลาฟื้นตัว

2. อาจจะให้ยานอนหลับ ยาหยุดการทำงานกล้ามเนื้อ เพื่อลดการใช้พลังงานผู้ป่วย เป็นการลดความต้องการออกซิเจนในร่างกาย

3. อาจจะให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ ซึ่งสามารถทำให้มีแลกเปลี่ยนก๊าซของผู้ป่วยดีขึ้น

4. หากยังไม่ได้ผล ผู้ป่วยยังมีออกซิเจนต่ำอยู่ อาจจะใช้เครื่องปอดเทียม ECMO

เครื่อง ECMO ไม่ได้ช่วยให้ผู้ป่วยดีหายเป็นการรักษาระดับออกซิเจนในร่างกายให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเชื้อโควิด-19 เมื่อเข้าสู่ปอด จะส่งผลให้ระบบการหายใจเกิดปัญหาการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนไม่ปกติเกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ หมายถึง “หัวใจ” ต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อพยายามให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เท่าเดิม

คนที่เป็นโรคหัวใจ หากติดเชื้อโควิด 19 อาจจะมีอาการรุนแรง อาจมีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้

#วิตามิน ดี VS ภูมิคุ้มกัน
นักวิจัยมหาวิทยาลัยควีนแมรี่ ณ กรุงลอนดอน ยืนยันว่า วิตามินดีช่วยลดความเสี่ยงการเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ